วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สื่อเสียง 

            หรือสื่อประเภทเสียง หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายทอดและบันทึกเสียงของผู้สอนและเสียงอื่นๆ เพื่อจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน โดยมีลักษณะเฉพาะคือ สื่อที่ใช้หูในการสัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ รับรู้ถึงจุดมุ่งหมายของการผลิตสื่อนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สื่ออนาล็อก และสื่อดิจิตอล

            สื่ออนาล็อก ได้แก่ เทปคาสเซตหรือเทปตลับ วิทยุ เครื่องเสียง
            สื่อดิจิตอล ได้แก่ แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี เสียงบนอินเตอร์เน็ต วิทยุบนอินเตอร์เน็ต 

ระบบขยายเสียง

            ระบบขยายเสียง หมายถึง ระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากสามารถได้ยินอย่างชัดเจนและให้ผู้ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดเสียงได้ยินอย่างทั่วถึงกัน

องค์ประกอบของระบบขยายเสียง

  • ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง เช่น ไมโครโฟน
  • ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) เป็นภาคที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากภาคสัญญาณเข้า แล้วนำมาปรับแต่งและขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้น เพื่อเตรียมส่งต่อไปยัง ภาคสัญญาณออก
  • ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับการขยาย จากภาคขยายสัญญาณ นำมาเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียง อุปกรณ์ของภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง

การทำงานของระบบขยายเสียง

            การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ 
  • Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ 
  • Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
  • Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน 

ไมโครโฟน (Microphone)


ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน 

1. แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ
  • แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับ โทรศัพท์
  • แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
  • แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยมใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
  • แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกะทัดรัด
  • แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
  • แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
                                                                 
2. แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง 
  • แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
  • แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
  • แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
  • แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
  • แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
  • แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
  • แบบห้อยคอ (Lavaliere mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนคไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
  • แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเลื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
  • แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
  • แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น


คุณสมบัติของไมโครโฟน

            ไมโครโฟนทั่วๆ ไป มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น 

            ความไวในการรับเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลต์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dBเป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB มีความไวต่ำกว่า -50dB

           อิมพีแดนซ์ (Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรือกระแสสลับไหลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
  • อิมพิแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ   100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
  • อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอห์ม ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100ฟุต  

การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา 

  • ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
  • อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
  • ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
  • บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรับ อากาศ
  • ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำแนกจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงหนีออกไปไม่ให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
  • ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
  • หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน



ลำโพง (Loudspeaker)

ลำโพง เป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก (Output Signal) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง (Audio Frequency) ที่ถูกขยายแล้ว ให้กลับเป็นคลื่นเสียงตามธรรมชาติ ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ คิดค้น ลำโพงออกมาหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้มีอยู่เพียงแบบเดียวคือ แบบไดนามิค (Dynamic) ซึ่งมีโครงสร้างภายใน ประกอบด้วยแม่เหล็กถาวรและขดลวดเป็นส่วนสำคัญ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  • แบบปากแตร (Horn) คุณภาพเสียงไม่ดีนัก แต่ให้เสียงดังและพุ่งไปไกล
  • แบบกรวย (Cone) มีหลายขนาด ขนาดใหญ่จะให้เสียงทุ้ม ขนาดเล็กจะให้เสียงแหลมกว่า

ชนิดของลำโพง

แบ่งตามลักษณะ โครงสร้างภายนอก ของลำโพง อาจแบ่งตามลักษณะทางกายภาพ
  • ลำโพงตู้ (Cabinet Speaker) ส่วนมากเป็นลำโพงแบบไดนามิค กรวยลำโพงทำด้วยกระดาษ และบรรจุไว้ในตู้ที่ทำด้วยไม้หนา ๆ
  • ลำโพงปากแตร (Horn) ลำโพงปากแตร เป็นลำโพงที่มักใช้ภายนอกอาคาร มีคุณสมบัติทนแดดทนฝน สามารถส่งเสียงไปได้ไกล ๆ แต่จะให้เฉพาะเสียงแหลมเท่านั้น


แบ่งตามลักษณะการตอบสนอง ความถี่ของคลื่นเสียง
  • ลำโพงเสียงทุ้ม (Woofer) เป็นลำโพงกรวยกระดาษแบบไดนามิคขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป มีความไวต่อการสั่นสะเทือน ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 20 - 250 Hz
  • ลำโพงเสียงกลาง (Midrange / Squawked) เป็นลำโพงที่ตอบสนอง ความถี่ในช่วงกลางๆ เป็นลำโพง กรวยกระดาษ แบบไดนามิก เส้นผ่าศูนย์กลาง 4- 6 นิ้ว ตอบสนองความถี่เสียงในช่วงประมาณ 500 - 5,000 Hz
  • ลำโพงเสียงแหลม (Tweeter)เป็นลำโพงกรวยรูปโดม ขนาดเล็ก แบบไดนามิก ซึ่งมีเสียงแหลม ตอบสนองความถี่ ประมาณ 5,000 Hzขึ้นไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 นิ้ว
แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
  • ลำโพงใช้ภายในอาคาร (Indoor speaker) ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ส่วนมากนิยมใช้เป็นลำโพงกระดาษเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจนนุ่มนวล
  • ลำโพงใช้ภายนอกอาคาร (Outdoor speaker) โดยมากมักเป็นลำโพงที่มีแผ่นสั่นเป็นพวกโลหะหรือไฟเบอร์ เพื่อให้ความคมชัดของเสียงสูง สามารถส่งกระจายเสียงไปให้ผู้ฟังที่อยู่ไกลๆ ได้ยินได้
  • ลำโพงใช้ภายในและภายนอกอาคาร เป็นลำโพงที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งมิได้เน้นให้มีเสียงและความคงทนที่ดีมาก แต่เน้นเป็นกลางๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. Caesars Casino & Resort, Las Vegas: Employee Reviews, Photos & More
    › harrahs-casino 서울특별 출장마사지 › harrahs-casino Mar 광주 출장샵 19, 2016 충주 출장안마 — Mar 19, 2016 This hotel 울산광역 출장안마 has a restaurant. Rating: 3.9 1,917 익산 출장샵 reviews

    ตอบลบ